กระดูกพรุน
หน้าที่ของกระดูกคือรับน้ำหนัก และรับแรงกดกระแทก อีกทั้งยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ก็จะเสื่อมสภาพไปตามวันและเวลา ยิ่งใช้การแบกน้ำหนักมาก จะเกินขีดความสามารถของร่างกายก็จะยิ่งทำให้กระดูกเสื่อมสภาพเร็ว โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุน
กระดูกของคนเราจะสร้างเนื้อกระดูกเพื่อทดแทนส่วนที่ชำรุด แต่ในการสร้างกระดูกใหม่ร่างกายต้องดึง แคลเซียมจากกระแสเลือดเข้ามาเสริมเพื่อให้กระดูกใหม่แข้งแรง
ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่มีอยู่ในวัยสาวจะเป็นตัวควบคุมในการสลายและสร้างกระดูกอย่างสมดุล แต่เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน ตัวสลายกระดูกจะทำงานอย่างรวดเร็วจนกระดูกเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ หรือที่เข้าสู่โรคที่เรืยกว่า กระดูกพรุน
ในระยะแรกของของอาการกระดูกพรุน คือจะปวดกระดูกในบริเวณที่มีความผิดปรกติ เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก เป็นต้น การที่คนเราหลังโก่ง ความสูงลดลง ซึ่งจะเกิดจากการยุบต้วของกระดูก
ปัจจุบันมีตัวยาที่ใช้ต้านการสลายของกระดูก โดยมีทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน ประสิทธิภาพการรักษาถาวะ กระดูกพรุน และลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกยุบตัวได้ถึง 50%
แต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งที่มีอาการผิดปรกติ และต้องระวังการลื่นหกล้มในรายของผู้สูงอายุ เพราะจะเกิดอันตรายกว่าวัยทำงาน
ตรวจเช็คร่างกายทุกปี เพิ่มสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างแคลเซียมที่จำเป็นต่อกระดูก และไม่ลืมที่จะใช้กำลังให้พอดีกับร่างกายที่จะรับได้
ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตยากลุ่มนี้ดูดซึมยากการรับประทานจึงยุ่งยาก ทำให้คนไข้เกิดอาการคลื่นไส้และเป็นอันตรายหลอดอาหาร ยากลุ่มนี้ยังไม่มีการยืนยันผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว แต่ให้ประสิทธิภาพต่ออาการของ กระดูก
ยากลุ่มเชิร์ม
ให้ประสิทธิภาพดีต่ออาการ กระดูกพรุน แต่อาจมีผลข้างเคียงบ้าง เช่นอาจเกิดตะคริว หรือมีอาการร้อนวูบวาบ
ฮอร์โมนทดแทนในอาการของ กระดูกพรุน จะต้องรับฮอร์โมนทดแทนในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าจะได้รับประโยชน์ ถ้าต้องใช้ในการรักษา หรือ ปัองกัน กระดูกพรุน ควรต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ยาสร้างเนื้อกระดูกการใช้ยาพาราไทรอยด์ขนาดต่ำทุกวันต่อเนื่องเพียง 3 เดือน ก็สามารถเพิ่มเนื้อกระดูกใหม่ได้ เหมาะกับผู้มีภาวะ กระดูกพรุน อย่างรุนแรง และกับผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังยุบตัว
วิธีตรวจว่าเป็น กระดูกพรุน หรือไม่เมื่อสตรีที่ถึงวัยหมดระดู จะมีอัตราการสูญเสียเนื้อกระดูกเร็วช้าต่างกัน แต่ที่เสี่ยงกับโรค กระดูกพรุน มักเป็นสตรีที่มีรูปร่างผอมบาง หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรค กระดูกพรุน หรือ สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา กาแฟ ทำงานนั่งมาก ๆ โดยไม่ยองเปลี่ยนอริยาบท และรับประทานอาหารที่มี แคลเซียมไม่เพียงพอ หรือในผู้ที่รับยาในกลุ่ม ยาสเตอรอยด์ก็ทำให้เกิดอาการ กระดูกพรุนได้
ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่เรียกว่า DEXA เป็นเครื่องตรวจมวลกระดูก แต่ยังมีอยู่ในเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ ๆ เท่านั้น ถ้ามวลกระดูกต่ำกว่ามาตรฐาน อาจเป็นเพืยงแค่กระดูกบาง หรืออาจเป็นมากถึงขั้น กระดูกพรุน ด้วยก็ได้โดยแพทย์จะต้องพิจารณาปัจจัยเสี่ยงของสตรีร่วมด้วย แต่วินิจฉัยเป็นโรค กระดูกพรุน มักจะได้รับยาเพื่อลดอัตราการสลายเนื้อกระดูก และปัองกันไม่ให้โรคลามไปมากกว่านี้ หลังจากใช้ยาเป็นเวลา 1ปี แพทย์จะนัดมาตรวจมวลกระดูกอีกครั้ง เพื่อตัดสินใจในการเปลี่ยนตัวยาตัวอื่นต่อไปป้องกันการเป็นโรค
กระดูกพรุน เราต้องป้องกันแต่เนิ่นๆ เริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงานนานมาเป็นการเดินหรือลดการกดทับบริเวณเดียว อาหารควรเป็นอาหารที่ให้แคลเซียมที่จำเป็นต่อการสร้างเนื้อกระดูกเพื่อป้องกับการเกิด กระดูกพรุน หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่าง ๆ เช่นการสูบหรี่ เป็นต้น ร่างกายไม่ได้มีไว้ใช้อย่างเดียว ถนอมด้วยการให้แต่สิ่งที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะ กระดูกพรุน เร็วกว่ากำหนด และควรตรวจสุขภาพเสมออย่าปล่อยให้ถึงวัยหมดระดูจึงค่อยคิดไปหาหมอนะครับ